หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต


หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาการปกครอง

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐศาสตรบัณฑิต (การปกครอง)

ชื่อย่อ : ร.บ. (การปกครอง)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Political Science (Government)

ชื่อย่อ : B.Pol.Sc. (Government)

ปรัชญาของหลักสูตร

มุ่งผลิตบัณฑิตทางรัฐศาสตร์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถบูรณาการองค์ความรู้และทักษะทางรัฐศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน/สถานการณ์จริง เพื่อรองรับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสร้างสรรค์ความเป็นพลเมืองและเป็นผู้นำที่ตระหนักถึงหลักการในระบอบประชาธิปไตย และมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับท้องถิ่นและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้แล้ว บัณฑิตมีสมรรถนะ ดังนี้

1. มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบและตระหนักในการเป็นพลเมืองที่ดีบนพื้นฐานประชาธิปไตย เคารพกฎหมายทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันของสังคม

2. มีความรู้และทักษะทางด้านรัฐศาสตร์ การเมืองและการจัดการปกครองความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงปฏิบัติ

3. สามารถคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ เปรียบเทียบ รวมทั้งบูรณาการและประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ทางรัฐศาสตร์และศาสตร์อื่น ๆ ให้เข้ากับการปฏิบัติงานจริง และมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในระดับท้องถิ่นและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงอย่างยั่งยืน

4. ปรับตัวได้ในสังคมที่มีความหลากหลาย รับฟังความเห็นที่แตกต่างและแสดงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐศาสตร์ได้อย่างสร้างสรรค์ มีทักษะการสื่อสารกับผู้อื่น และทักษะการทำงานเป็นทีม

5. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่หลากหลายในการสืบค้นข้อมูลสร้างสรรค์งานและ วิเคราะห์อย่างรู้เท่าทัน

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 126 หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป    ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

1.1 กลุ่มวิชาภาษา                                                                  จำนวน 15 หน่วยกิต

- กลุ่มภาษาไทย                                                                      3 หน่วยกิต

- กลุ่มภาษาอังกฤษ                                                                  12 หน่วยกิต

1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                                                          จำนวน   3 หน่วยกิต

1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                                          จำนวน   3 หน่วยกิต

1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ                                                  จำนวน   3 หน่วยกิต

1.5 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรมและการจัดการ                  จำนวน   3 หน่วยกิต

1.6 กลุ่มวิชาเลือกศึกษาทั่วไป                                                                 3 หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ         ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต

กลุ่มพื้นฐานวิชาชีพ                                                        จำนวน 27 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาชีพบังคับ                                                         จำนวน 42 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาโท                                                                 จำนวน 15 หน่วยกิต

2.4 กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือสหกิจศึกษาหรือการค้นคว้าอิสระ     ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี                                                                 ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต


เอกสารที่เกี่ยวข้อง : เล่มหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการปกครอง