หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)

ชื่อย่อ : รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Public Administration (Public Administration)

ชื่อย่อ : B.P.A. (Public Administration)

ปรัชญาและความสำคัญ

มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ มีทักษะในการเรียนรู้ ตลอดชีวิต มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถนำความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์ และศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการร่วมสร้างนวัตกรรมการบริหารภาครัฐ และภาคท้องถิ่น เพื่อประโยชน์สาธารณะ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี้ บัณฑิตมีสมรรถนะ ดังนี้

1.3.1 มีความรู้และเข้าใจหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ โดยสามารถเชื่อมโยงกับศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้

1.3.2 สามารถวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่ซับซ้อน โดยประยุกต์ใช้ แนวคิดและทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ และบูรณาการงานวิจัย เพื่อเสนอแนะ แนวทางในการแก้ไขปัญหาและร่วมสร้างนวัตกรรมการบริหารภาครัฐและภาค ท้องถิ่นได้อย่างสร้างสรรค์

1.3.3 สามารถปรับตัวได้ในสังคมที่มีความหลากหลาย รับฟังความเห็นที่แตกต่าง และแสดงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่าง สร้างสรรค์ สร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน

1.3.4 มีทักษะการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่หลากหลายในการสืบค้นข้อมูล ศึกษา และวิเคราะห์ประเด็นด้านรัฐ ประศาสนศาสตร์ด้วยตนเอง

1.3.5 มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย รู้เท่าทันโลก 

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 123 หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

1.1 กลุ่มวิชาภาษา จำนวน                                                                 15 หน่วยกิต

- กลุ่มภาษาไทย                                                                                  3 หน่วยกิต

- กลุ่มภาษาอังกฤษ                                                                             12 หน่วยกิต

1.2 กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                                                     จำนวน 3 หน่วยกิต

1.3 กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                                      จำนวน 3 หน่วยกิต

1.4 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ                                          จำนวน 3 หน่วยกิต

1.5 กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี                                     จำนวน 3 หน่วยกิต

      นวัตกรรมและการจัดการ

1.6 กลุ่มวิชาเลือกศึกษาทั่วไป                                                             3 หน่วยกิต


หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 87 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                                      จำนวน 33 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาเอก                                                                        จำนวน 33 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                                        จำนวน 6 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาโท                                                                          ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี                                                              ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

เอกสารที่เกี่ยวข้อง : เล่มหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์


หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์

หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย ชื่อเต็ม : รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์)

ชื่อย่อ : รป.บ. (รัฐประศาสนศาสตร์)

ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Public Administration (Public Administration)

ชื่อย่อ : B.P.A. (Public Administration)

ปรัชญาและความสำคัญ

มุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตทางรัฐประศาสนศาสตร์ที่เปี่ยมไปด้วยความรู้ ควบคู่ คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีภาวะผู้นำ ตระหนักถึงผลประโยชน์สาธารณะ การเสียสละรับใช้ท้องถิ่น ชุมชน สังคม ประเทศชาติ ตระหนักถึงความเคลื่อนไหว ในการบริหารองค์กรภาครัฐ และภาคส่วนอื่น ๆ ของประเทศในกลุ่มประชาคม อาเซียน และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และการคงรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาชุมชน ท้องถิ่น ผ่านการจัดการความรู้ ตลอดจนนำไปสู่การใช้ปัญญาและความร่วมมือเพื่อสร้าง นวัตกรรมทางการบริหารองค์กรภาครัฐ และภาคส่วนอื่น ๆ อย่างมีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เมื่อสำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนี แล้ว บัณฑิตจะมีคุณสมบัติดังนี้

1. มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรับผิดชอบ และเคารพกฎหมายทั้งด้านวิชาการ และวิชาชีพ

2. สามารถนำความรู้ทางวิชาการและทักษะทางวิชาชีพทางรัฐประศาสนศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ การวิเคราะห์และพัฒนาการบริหาร ภาครัฐและการพัฒนาท้องถิ่นได้

3. สามารถวิเคราะห์สถานการณ์หรือสภาพปัญหาที่ซับซ้อน และพัฒนาแนวทาง ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์จากความเข้าใจที่ลึกซึ้งของตนเองและ ความรู้จากสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง

4. สามารถปรับตัวได้ในสังคมที่มีความหลากหลาย รับฟังความเห็นที่แตกต่างและ แสดงความเห็นที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางรัฐประศาสนศาสตร์ได้อย่างสร้างสรรค์ มีทักษะการทำงานเป็นทีมและรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง

5. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นหา ใช้เทคนิคทางสถิติที่ เหมาะสมในการวิเคราะห์ และแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ตลอดจนการเลือกใช้กลไกที่ เหมาะสมในการสื่อผลการวิเคราะห์ต่อผู้รับข้อมูลข่าวสารกลุ่มต่าง ๆ

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 129 หน่วยกิต

หมวดวิชาศึกษาทั่วไปไม่น้อยกว่า                                30 หน่วยกิต

- กลุ่มวิชาภาษา                                         ไม่น้อยกว่า15 หน่วยกิต

- กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์        ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

- กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์    ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

- กลุ่มวิชาเลือกศึกษาทั่วไป                        ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

มวดวิชาเฉพาะ                                         ไม่น้อยกว่า 93 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                             จำนวน 33 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาเอก                                                จำนวน 33 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ                จำนวน 9 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาโท                                                  ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี                                     ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

เอกสารที่เกี่ยวข้อง :เล่มหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์