ข่าวกิจกรรม

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ปฐวี โชติอนันต์ 11 ข้อสังเกตต่อการเลือกตั้ง สว. เงียบเหงา สับสน ประชาชนไม่มีส่วนร่วม

news_icon

ผศ.ปฐวี โชติอนันต์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ให้ "11 ข้อสังเกตต่อการเลือกตั้ง สว. เงียบเหงา สับสน ประชาชนไม่มีส่วนร่วม การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา (สว.)" รอบแรกจบลงไปเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2567 หลังจากนี้จะเป็นการเข้าสู่การเลือกตั้งรอบที่ 2 ในระดับจังหวัด และการเลือกตั้งรอบที่ 3 ในระดับประเทศต่อไป เพื่อที่คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) สามารถประกาศผลการเลือกตั้งได้ทันในเดือนกรกฎกาคม 2567 ผู้เขียนขอแสดงความยินกับผู้สมัคร สว. ทุกท่านที่ผ่านรอบอำเภอไปสู่รอบจังหวัด และแสดงความเสียใจสำหรับผู้ไม่ได้ผ่านเข้ารอบด้วย อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง สว. ของประเทศไทยในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่ซับซ้อนและลดการมีส่วนร่วมของประชาชนที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่เคยมีการจัดการเลือกตั้งมา เพราะผู้สมัครลงสมัคร สว. ได้นั้นต้องมีอายุ 40 ปีขึ้นไป และต้องเสียเงิน 2,500 บาท เพื่อมาเลือกกันเองภายในกลุ่มอาชีพ และเลือกไขว้กลุ่มอาชีพกันจนได้ตัวแทนกลุ่มอาชีพละ 10 คน รวมเป็น 200 คน จากที่กล่าวมาผู้เขียนได้มีการตั้งข้อสังเกตการเลือกตั้ง สว. รอบแรกที่เพิ่งผ่านพ้นไปดังต่อไปนี้

อ่านเพิ่มเติม https://theisaanrecord.co/2024/06/12/election-of-senators/

Share this Post: